ซิงค์ (Zinc)หรือสังกะสี มีดีกว่าแค่รักษา “สิว”

ซิงค์ (Zinc)หรือสังกะสี มีดีกว่าแค่รักษา “สิว”


                                        http://www.silox.com/EN/SILOX-ENGIS/zinc.php

     ซิงค์ (Zinc)หรือสังกะสี เป็นแร่ธาตุที่จำเป็นต่อร่างกายชนิดหนึ่ง เป็นแร่ธาตุที่ร่างกายไม่สามารถสร้างขึ้นมาเองได้ ต้องได้รับจากอาหารเข้าไป ซึ่งมีหลายชนิดและใช้แตกต่างต่างกัน มีหลายงานวิจัยที่พูดถึงประโยชน์ในการเพิ่มภูมิคุ้มกัน ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด และช่วยในการดูแลผิว ตา และหัวใจ

บทความนี้จะพูดถึง ชนิด ประโยชน์ ขนาดรับประทาน ผลข้างเคียงของแร่ธาตุซิงค์ (Zinc)

ชนิดของแร่ธาตุซิงค์ (Zinc) 
    ปัจจุบันแร่ธาตุซิงค์ (Zinc) มีหลากหลายชนิดในท้องตลาด และแต่ละชนิดก็มีประโยชน์แตกต่างกัน เราจึงควรเลือกให้เหมาะกับเราดังนี้

- Zinc gluconate:เป็นอีกหนึ่งชนิดที่จำหน่ายอย่างแพร่หลาย Zinc gluconate มักใช้นำตำหรับยาแก้หวัด รวมไปถึงยาอม (lozenges)และสเปรย์พ่นจมูก (nasal sprays)

- Zinc acetate:ก็คล้ายกับ Zinc gluconate ซึ่งZinc acetate ก็ใช้เป็นส่วนผสมของยาอมแก้เจ็บคอ ช่วยลดอาการเจ็บคอและทำให้หายเร็วขึ้น

- Zinc sulfate:มักใช้เสริมในกรณีที่ขาดแร่ธาตุซิงค์ (Zinc) หรือใช้ในการลดความรุนแรงของสิวอักเสบ

- Zinc picolinate:มีบางงานวิจัยบอกว่าร่างกายของมนุษย์สามารถดูดซึมZinc picolinate ได้ดีกว่าแร่ธาตุซิงค์ (Zinc) ชนิดอื่น รวมไปถึงZinc gluconateแลzinc citrate
-
Zinc orotate:
เป็นอีกหนึ่งชนิดที่ทำปฏิกิริยากับ orotic acid เป็นอีกหนึ่งชนิดที่จำหน่ายอย่างแพร่หลายในท้องตลาด

- Zinc citrate:เป็นอีกหนึ่งชนิดที่มีการศึกษาว่าดูดซึมดีกว่า Zinc gluconate และขมน้อยกว่าZinc gluconate
     จึงพอสรุปได้ว่า Zinc picolinate ดูดซึมดีที่สุด และเนื่องจากมีหลากหลายชนิดในท้องตลาด
จึงควรเลือกให้เหมาะสมกับการใช้งานและความต้องการ รวมไปถึงรูปแบบยาไม่ว่าเป็น แคปซูล เม็ดตอก ยาอมและสเปรย์พ่นจมูกเป็นต้น


ประโยชน์ที่โดดเด่นของแร่ธาตุซิงค์ (Zinc)
1.
เสริมการทำงานของภูมิคุ้มกันในร่างกาย
มีเสริมอาหารหลายชนิดที่มี
แร่ธาตุซิงค์
(Zinc) ในสูตรเพื่อเพิ่มภูมิคุ้มกันและลดการอักเสบต่างในร่างกาย
มีอีกหนึ่งงานวิจัยที่ศึกษายาอมที่ผสมแร่ธาตุซิงค์ (Zinc) 80-92 mg ในคนไข้ที่ป่วยเป็นไข้หวัดพบว่า ทำให้หายเร็วขึ้น 33% แร่ธาตุซิงค์ (Zinc) เปนสารต้านอนุมูลอิสระ ลดการอักเสบและป้องกันโรคเรื้อรังต่างๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ และโรคมะเร็ง อีกหนึ่งงานวิจัยในคนที่อายุ 50 ปีขึ้นไป ที่รับประทานzinc gluconate 45mg วันละครั้ง ระยะเวลาหนึ่งปี ช่วยลดสารที่ทำให้เกิดการอักเสบและลดความถี่ในการติดเชื้อต่างๆ


https://www.thailandmedical.news/news/boosting-your-immune-system-in-times-of-viral-respiratory-outbreaks


2.ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
    แร่ธาตุซิงค์ (Zinc) มีบทบาทสำคัญในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและการหลั่งฮอร์โมนอินซูลิน ซึ่งฮอร์โมนอินซูลินมีหน้าที่นำน้ำตาลในเลือดเข้ากับไปที่กล้ามเนื้อ
    บางงานวิจัยก็บอกว่าแร่ธาตุซิงค์ (Zinc) ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลให้คงที่และเพิ่มการตอบสนองของร่างกายต่อฮอร์โมนอินซูลิน
    จากการทบทวนบทความต่างๆ แร่ธาตุซิงค์ (Zinc) มีผลทั้งในระยะสั้นและระยะยาวในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวาน และงานวิจัยอื่นที่แสดงให้เห็นว่าแร่ธาตุซิงค์ (Zinc) ช่วยลดการดื้อฮอร์โมนอินซูลิน และในขณะเดียวกันก็เพิ่มความสามารถในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับปกติอีกด้วย

(© stock.adobe.com)


3.
ช่วยในการต่อสู้กับ “สิว” 
    บ่อยครั้งที่พบว่ามีการใช้แร่ธาตุซิงค์ (Zinc) ในการฟื้นฟูผิวและใช้ช่วยในการรักษาสิว โดยเฉพาะZinc sulfate ที่พบว่าช่วยลดความรุนแรงในการเกิดสิว เป็นต้น 
    มีการศึกษาให้อาสาสมัคร 332 คนรับประทานแร่ธาตุซิงค์ (Zinc) ขนาด 30 mg นาน 3 เดือน ช่วยเพิ่มการตอบนสนองต่อการรักษาสิวมากขึ้น
    แร่ธาตุซิงค์ (Zinc) มักใช้ในการรักษาสิวควบคู่กับแนวทางการรักษาปกติเนื่องจากราคาถูกและผลข้างเคียงพบความรุนแรงน้อย 


4.ช่วยเพิ่มความแข็งแรงของ “หัวใจ”
โรคเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือดเป็นปัญหาใหญ่ระดับโลกพบผู้เสียชีวิตอยู่ที่ 33 % ของผู้ป่วยทั่วโลก
บางงานวิจัยพบว่าช่วยการรับประทานแร่ธาตุซิงค์ (Zinc) ช่วยลดปัจจัยเสี่ยงบางตัวที่ให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด โดยมีการทบทวนงานวิจัยย้อนหลัง 24 การศึกษาพบว่าแร่ธาตุซิงค์ (Zinc) ช่วยลดทั้งไขมันรวมTotal cholesterol ไขมันเลว(LDL cholesterol) รวมถึง triglyceride ทำให้ลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด และมีการศึกษาเพิ่มเติมในผู้หญิงอายุ 40 ปีขึ้นไป โดยรับประมาณแร่ธาตุซิงค์ (Zinc) ช่วยลดระดับความดันโลหิตในเลือด แต่เนื่องจากยังมีการศึกษาเรื่องการลดความดันโลหิตในเลือดยังน้อยอยู่ อาจต้องรองานจัยเพิ่มเติมในส่วนนี้ 
ส่วนงานวิจัยอื่นๆ พบว่าระดับแร่ธาตุซิงค์ (Zinc) ในเลือดที่ต่ำมีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงการเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน แต่ยังไม่มีการสรุป



https://www.webmd.com/heart-disease/ss/slideshow-heart-disease-surprising-causes


5.ช่วยชะลอการเกิดโรคจอประสาทตาเสื่อม
โรคจอประสาทตาเสื่อมเป็นโรคที่พบได้บ่อยและเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดการสูญเสียการมองเห็นในผู้ป่วยทั่วโลก แร่ธาตุซิงค์ (Zinc)ก็เป็นอีกหนึ่งเสริมอาหารที่ช่วยชะลอการเกิดโรคจอประสาทตาเสื่อมจากอายุ age-related macular degeneration (AMD) และป้องกันการสูญเสียการมองเห็น อีกหนึ่งการศึกษาที่ให้ผุ้เข้ารับการทดลอง 72 คนที่เป็นโรคจอประสาทตาเสื่อมจากอายุ age-related macular degeneration (AMD) ได้รับ แร่ธาตุซิงค์ (Zinc) 50 mg ต่อเนื่อง 3 เดือนพบว่าลดการดำเนินไปของโรคได้ แต่อย่างไรก็ตามก็มีบางการศึกษาที่ยังไม่มีความแตกต่างอย่างชัดเจนต้องรับการศึกษาเพิ่มในเรื่องนี้



https://www.thailandmedical.news/news/new-gene-therapy-for-age-related-macular-degeneration-amd 

จึงพอสรุปได้ว่า แร่ธาตุซิงค์ (Zinc)ลดระยะเวลาการเป็นไข้หวัด เสริมการควบคุมน้ำตาลในเลือด ลดความรุนแรงของการเกิดสิว ลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ชะรอภาวะโรคจอประสาทตาเสื่อม
เห็นไหมครับ
แร่ธาตุซิงค์
(Zinc)มีดีกว่าการใช้รักษา “สิว”

ขนาดรับประทานแร่ธาตุซิงค์ (Zinc)
    ก่อนอื่นเราต้องทราบก่อนว่า แร่ธาตุซิงค์ (Zinc) เป็นชนิดไหน ซึ่งแต่ละชนิดก็ให้ปริมาณที่ต่างกัน
เช่น Zinc Sulfate
ให้ปริมาณแร่ธาตุซิงค์ (Zinc) เพียง 23% ดั้งนั้นถ้ารับประมาณขนาด 220 mgอาจได้รับแร่ธาตุซิงค์ (Zinc) เพียง 50 mg เท่านั้น
ผู้ใหญ่ : ขนาดรับประทาน 15-30 mg/วัน เพิ่มขนาดได้หากผุ้ป่วยมีปัญหาอื่นร่วมด้วยเช่น ต้องการรักษาสิว

ท้องเสีย ผู้ป่วยติดเชื้อที่ปอด เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตามการเพิ่มขนาด
แร่ธาตุซิงค์ (Zinc)ให้เพิ่มขึ้นศุง อายทำให้ท้องผูกได้และขับถ่ายลำบาก จึงไม่ควรรับประทานเกิน 40 mg/วัน

ความปลอดภัยและผลข้างเคียงของยา 
    แร่ธาตุซิงค์ (Zinc) ห้ามได้รับขนาดที่มากเกินไปอาจพบผลข้างเคียงดังนี้ คลื่นไส้อาเจียน เวียนศีรษะ หรือปวดท้องผิดปกติได้ และหาได้รับขนาดเกิน 40 mg/วัน อาจมีอาการคล้ายเป็นไข้ เช่นปวดหัว ไอ และมึนชา การรับประทานแร่ธาตุซิงค์ (Zinc)อาจรบกวนการดูดซึมแร่ธาตุชนิดอื่น รวมไปถึงยาปฏิชีวนะบางชนิด ต้องเว้นทานห่างจากยา อย่างน้อย 2 ชั่วโมง เป็นต้น
หากต้องซื้อวิตามินอาหารเสริมมารับประทานเอง ควรศึกษาอย่างละเอียดเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพและความปลอดภัย หรือปรึกษาเภสัชกรผู้เชี่ยวชาญก่อนรับประทานยาและอาหารเสริมทุกครั้ง 


ด้วยความปรารถนาดีจาก
เภสายเฮลท์


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

รีวิววิตามิน อี ครีมในร้านขายยา ยี่ห้อไหน? ดีสุด!!! ไปดูกัน ? วิตามินอี คืออะไร เภสายเฮลท์

รีวิว DERMATIX ULTRA ADVANCED SCAR FORMULA